กิจกรรมพัฒนานักศึกษาประจำปี 2566 (แม่โจ้ รุ่น 88)

วันที่ 29 มิถุนายน 2566 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้จัดกิจกรรมเดินวิ่งแม่โจ้ สันทราย เพื่อให้นักศึกษาใหม่ ที่จะเข้าเรียนในปี 2566 ได้ไปทำความรู้จักกับกับพีน้องชาวสันทราย และ นายอำเภอสันทราย เปลี่่ยนสถานที่จากที่ว่าการอำเภอสันทราย เป็นลานกิจกรรมของเทศบาลเมืองสันทรายหลวง ก็สำเร็จไปได้ด้วยดี มีทั้งที่ประทับใจ และไม่ประทับใจ เสียงบ่น อีกมากมาย ก็ว่ากันไป นะครับ เปลี่ยนไปตามสมัยตามกาลเวลาครับ แม่โจ้กลายเป็นตำนานไปแล้วครับ

กรรมการชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 55 (ปี 2563-2566)

เคยเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 55 หลังจากที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ ออกมาแล้ว (พศ.2535) หลายสิบปี ในตำแหน่งเลขานุการของชมรมฯ ปัจจุบัน (พศ.2565)ได้ลาออกจำตำแหน่งนี้ไปแล้ว…แต่ก็ยังช่วยเหลืองานของชมรมเหมือนเดิม ถึงไม่ได้ร้องขอจากใครก็ตามนะครับ …

ครั้งหนึ่งของแม่โจ้

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2565 เมื่อนักศึกษาที่เรียนแม่โจ้หลักสูตรต่อเนื่อง เรียน 2 ปี จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้แต่เนื่องจากมีสถานการที่อยู่ในระหว่างโรคติดต่อ จึงไม่สามารถจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาได้ พร้อมกับมีนักศึกษาที่เรียนจบแล้วร้องขอที่จะขอเข้ารับกิจกรรมพัฒนานักศึกษา (ขอรุ่นที่จบแม่โจ้ รุ่นที่ 85) ทางมหาวิทยาลัยจึงได้จัดกิจกรรมนี้ขึ้น เพื่อเป็นการสืบทอดประเพณี และการจัดการแลกเปลี่่่่ยน เรียนรู้เกี่ยวกับประเพณีรับน้องใหม่แม่โจ้ขึ้น โดยใช้เวลา หนึ่งวัน เท่านั้น รายละเอียดมีให้ติดตามในเวป ของสมาคมฯ และฝ่ายพัฒนานักศึกษา ม แม่โจ้ครับ

แม่โจ้ ปรับเปลี่ยนไป

แม่โจ้ ในปัจจุบัน กับแม่โจ้ในอดีตที่ผ่านมา ในเรื่องของความรัก ความสามัคคีในหมู่นักศึกษาด้วยกัน ศิษย์เก่า กับศิษย์ปัจจุบัน ตลอดจนระหว่างศิษย์เก่ากับศิษย์เก่ารุ่นแรกๆ ด้วยกันเอง ค่อยๆ เลือนหายไป ทั้งนี้เนื่องมาจาก กิจกรรมบางเรื่อง บางกิจกรรม ไม่สามมารถทำได้ ด้วยเงื่อนไขของโรคติดต่อ โควิด 19 แม่โจ้ รุ่น 85 (มิถุนา 2563) น่าจะเป็นรุ่นแรกที่ไม่มีกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ปัจจุบัน ปี 2565 เป็นเวลาสองปีกว่าและกำลังจะเข้าปีที่ 3 ที่น่าจะไม่มีกิจกรรมดังกล่าวอีก นี่อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งหนึ่งของแม่โจ้ ที่ต้องบันทึกไว้ ว่าเราต้องเดินไปข้างหน้า ปรับเปลี่ยน เพิ่มเติม หรือลด บางกิจกรรม เพื่อแม่โจ้ของเราในอนาคตต่อไปครับ..รักแม่โจ้ครับ..

อาคารชูติวัตร์ แม่โจ้

อาคารชูติวัตร สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2495 เมื่อครั้งยังเป็นโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ ยุคสมัยอาจารย์ไสว ชูติวัตร ยังเป็นอาจารย์ใหญ่ภาพนี้ถ่ายเมื่อ ธันวาคม พ.ศ. 2564 มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ธันวาคม 2564
ธันวาคม 2564
ธันวาคม 2564
ภาพในอดีต

เกษตรแม่โจ้ 100 ปี

โครงการอุทยานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 100 ปี ร่วมกับ บริษัทช้างทองแลนด์ สเคบ จำกัด ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้พันธุ์ไม้ห้องปฏิบัติการนอกห้องเรียน การออกแบบการดูแลภูมิทัศน์ของนักศึกษา และถ่ายทอดองค์ความรู้จากศิษย์เก่าสู่นักศึกษารุ่นปัจจุบัน

2560/2562 MJ55/FT7

เมื่อเพื่อนๆ ได้มาเจอกัน ทำให้ทุกคนรู้ศึกได้กลับมาเป็นนักศึกษาในสมัยเรียนที่แม่โจ้ กว่า 27 ปี ความรู้ศึกยังเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือ มีภรรยา สามี และลูกๆ หลานๆ ติดตามมาด้วย ผมสังเกตุเห็นหลาน ๆ มองคุณพ่อ คุณแม่ ที่มีความสุขเมื่อเจอเพื่อนเก่า พูดคุย เสียงดัง ภาษาที่ใช้ก็เป็นสมัยพ่อขุนรามฯ ผมอยากบอกลูกๆ หลานๆ เหล่านั้นว่า นี่คือสังคมของแม่โจ้ครับ เพื่อนกันตลอดไป ไม่ว่าวันเวลาจะผ่านไปเท่าไหร่ก็ตาม……


แถวหลังจากซ้ายมือ: 1สมเกรียติ: 2นก: 3อ้อยใหญ่: 4บำรุง: 5พิชิต: 6ตี๋: 7ผวย: 8ยงค์: 9แจ๊ด: 10ทอง แถวหน้าจากซ้ายมือ: 1จิ๋ม: 2นุช(จันทิมา): 3เอื้อง: 4อ๊อด: 5อ้อยเล็ก: 6ต้อยติ่ง: 7ม็อค (แม่โจ้ 55 ที่ สุพรรณบุรี 2560)

จากซ้ายมือ: 1พิชิต: 2แจ๊ด: 3ตี๋: 4อ๊อด: 5นุช(ฉวีวรรณ): 6อ้อยเล็ก: 7อ้อยใหญ่: 8ม็อค: 9นุช(จันทิมา): 10บำรุง: 11จิ๋ม: 12ทอง (แม่โจ้ 55 ที่ หนองคาย 2562)

“งานหนักไม่เคยฆ่าคน”

งานหนักไม่เคยฆ่าคน ใครที่ตายเพราะงานหนัก ครูจะสร้างอนุสาวรีย์ ไว้ให้ในแม่โจ้ ” เป็นคำกล่าวให้โอวาทของอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ (อาจารย์บุญศรี วังซ้าย) เนื่องในโอกาส วันไหว้ครู ในวันที่ 9 มิถุนายน 2497 ที่อาคารหอประชุมชูติวัตร หลังจากเสร็จพิธีไหว้ครู ในวันนั้น โดยมีนักศึกษาทุกชั้นปีเข้าร่วมในวันดังกล่าวจำนวน หลายร้อยคน โดยเฉพาะนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 221 คน (แม่โจ้ รุ่น 20) ที่เพิ่งจะผ่านการสอบคัดเลือกภาคทฤฎีและภาคปฏิบัติที่เข้มข้นเป็นเวลา 5 วัน และได้กล่าวเพิ่มเติม ว่า “เห็นใจ เข้าใจ ความมุ่งมั่นและความตั้งใจจริงของนักเรียนแม่โจ้ทุกคน นักเรียนทั้งหมดนี้พร้อมที่จะเผชิญงานหนักทุกอย่าง ความรับผิดชอบในการเรียน และการงานระหว่างการศึกษาต่อไป” (ธนิต มะลิสุวรรณ 2558 อนุสรณ์ 100 ปีชาตกาล อาจารย์บุญศรี สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ )

ฝู้เขียนได้สัมผัสกับ “วจนโอวาท (สมนึก แกล้ววิกย์กรรม แม่โจ้รุ่น 20)”เรื่องราวต่าง ๆ นี้ด้วยตัวเองแล้ว เมื่อครั้งเข้ามาเรียนที่แม่โจ้เมื่อปี 2533 (แม่โจ้ รุ่น 55)ได้ผ่านความทุกข์ยากด้วยกันเกิดความเห็นอกเห็นใจ ความเอื้ออาทรซึ่งกันและกันกินอยู่หลับนอน มีชีวิตประจำวันขณะเล่าเรียนเหมือนกัน มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้สร้างความรักความสามัคคีในแม่โจ้รุ่น 55 ด้วยกันเอง รวมทั้งเรากับรุ่นพี่ เรากับรุ่นน้อง ส่งผลให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากแม่โจ้ทุกคนมีความรักและสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของศิษย์เก่าแม่โจ้หลายๆ รุ่นในเวลาต่อมา ครับ ขอบคุณแม่โจ้ครับ…