Category: blog(บันทึก)

เกษตรแม่โจ้ 100 ปี

โครงการอุทยานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 100 ปี ร่วมกับ บริษัทช้างทองแลนด์ สเคบ จำกัด ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้พันธุ์ไม้ห้องปฏิบัติการนอกห้องเรียน การออกแบบการดูแลภูมิทัศน์ของนักศึกษา และถ่ายทอดองค์ความรู้จากศิษย์เก่าสู่นักศึกษารุ่นปัจจุบัน

2560/2562 MJ55/FT7

เมื่อเพื่อนๆ ได้มาเจอกัน ทำให้ทุกคนรู้ศึกได้กลับมาเป็นนักศึกษาในสมัยเรียนที่แม่โจ้ กว่า 27 ปี ความรู้ศึกยังเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือ มีภรรยา สามี และลูกๆ หลานๆ ติดตามมาด้วย ผมสังเกตุเห็นหลาน ๆ มองคุณพ่อ คุณแม่ ที่มีความสุขเมื่อเจอเพื่อนเก่า พูดคุย เสียงดัง ภาษาที่ใช้ก็เป็นสมัยพ่อขุนรามฯ ผมอยากบอกลูกๆ หลานๆ เหล่านั้นว่า นี่คือสังคมของแม่โจ้ครับ เพื่อนกันตลอดไป ไม่ว่าวันเวลาจะผ่านไปเท่าไหร่ก็ตาม……


แถวหลังจากซ้ายมือ: 1สมเกรียติ: 2นก: 3อ้อยใหญ่: 4บำรุง: 5พิชิต: 6ตี๋: 7ผวย: 8ยงค์: 9แจ๊ด: 10ทอง แถวหน้าจากซ้ายมือ: 1จิ๋ม: 2นุช(จันทิมา): 3เอื้อง: 4อ๊อด: 5อ้อยเล็ก: 6ต้อยติ่ง: 7ม็อค (แม่โจ้ 55 ที่ สุพรรณบุรี 2560)

จากซ้ายมือ: 1พิชิต: 2แจ๊ด: 3ตี๋: 4อ๊อด: 5นุช(ฉวีวรรณ): 6อ้อยเล็ก: 7อ้อยใหญ่: 8ม็อค: 9นุช(จันทิมา): 10บำรุง: 11จิ๋ม: 12ทอง (แม่โจ้ 55 ที่ หนองคาย 2562)

“งานหนักไม่เคยฆ่าคน”

งานหนักไม่เคยฆ่าคน ใครที่ตายเพราะงานหนัก ครูจะสร้างอนุสาวรีย์ ไว้ให้ในแม่โจ้ ” เป็นคำกล่าวให้โอวาทของอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ (อาจารย์บุญศรี วังซ้าย) เนื่องในโอกาส วันไหว้ครู ในวันที่ 9 มิถุนายน 2497 ที่อาคารหอประชุมชูติวัตร หลังจากเสร็จพิธีไหว้ครู ในวันนั้น โดยมีนักศึกษาทุกชั้นปีเข้าร่วมในวันดังกล่าวจำนวน หลายร้อยคน โดยเฉพาะนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 221 คน (แม่โจ้ รุ่น 20) ที่เพิ่งจะผ่านการสอบคัดเลือกภาคทฤฎีและภาคปฏิบัติที่เข้มข้นเป็นเวลา 5 วัน และได้กล่าวเพิ่มเติม ว่า “เห็นใจ เข้าใจ ความมุ่งมั่นและความตั้งใจจริงของนักเรียนแม่โจ้ทุกคน นักเรียนทั้งหมดนี้พร้อมที่จะเผชิญงานหนักทุกอย่าง ความรับผิดชอบในการเรียน และการงานระหว่างการศึกษาต่อไป” (ธนิต มะลิสุวรรณ 2558 อนุสรณ์ 100 ปีชาตกาล อาจารย์บุญศรี สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ )

ฝู้เขียนได้สัมผัสกับ “วจนโอวาท (สมนึก แกล้ววิกย์กรรม แม่โจ้รุ่น 20)”เรื่องราวต่าง ๆ นี้ด้วยตัวเองแล้ว เมื่อครั้งเข้ามาเรียนที่แม่โจ้เมื่อปี 2533 (แม่โจ้ รุ่น 55)ได้ผ่านความทุกข์ยากด้วยกันเกิดความเห็นอกเห็นใจ ความเอื้ออาทรซึ่งกันและกันกินอยู่หลับนอน มีชีวิตประจำวันขณะเล่าเรียนเหมือนกัน มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้สร้างความรักความสามัคคีในแม่โจ้รุ่น 55 ด้วยกันเอง รวมทั้งเรากับรุ่นพี่ เรากับรุ่นน้อง ส่งผลให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากแม่โจ้ทุกคนมีความรักและสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของศิษย์เก่าแม่โจ้หลายๆ รุ่นในเวลาต่อมา ครับ ขอบคุณแม่โจ้ครับ…

หอระฆังแม่โจ้ รุ่น 55

เมื่อปี 2535 หลังจากเข้าศึกษาในสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ และสำเร็จการศึกษาในปี 2535 ทางคณะกรรมการชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่น 55 ได้ปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาว่าเราจะสร้างอนุสรณ์อะไรให้กับสถาบันฯแห่งนี้ ได้รับคำตอบจากอาจารย์ คือสร้างหอระฆังที่บริเวณสระเกษตรสนาน แทนอันเดิมที่เก่า โดยโครงสร้างเป็นคลอนกรีตเสริมเหล็ก ใช้งบประมาณ หลายแสนบาท จึงได้เกิดอนุสรณ์สถาน หอระฆังแม่โจ้รุ่น 55 ขึ้น เพื่อใช้ประกอบกิจกรรมพัฒนานักศึกษาตั้งแต่นั้นมาครับ เป็นความภาคภูมิใจของรุ่น 55 มาจนถึงปัจจุบัน

ตัวแทนศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 55 ถ่ายรูปด้านหน้าหอระฆังหลังจากสร้างแทนอันเดิมที่ชำรุด ในปี พศ. 2537

ตัวแทนศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 55 ถ่ายรูปด้านหน้าหอระฆังหลังจากทำการบูรณะในปี พศ.2556

ตัวแทนศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 55 ถ่ายรูปด้านหน้าหอระฆังหลังจากทำการบูรณะในปี พศ. 2565

อันเป็นที่เคารพบูชา

ถ้าพูดถึงลูกแม่โจ้ สิ่งที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตรใจ ของลูกๆ คือ ศาลเจ้าแม่ แม่โจ้ ซึ่งมีประวัติความเป็นมาคู่กับสถาบันแห่งนี้ครับ มีภาพถ่ายเมื่อหลายปีก่อนเทียบกับ ณ ปัจจุบััน 2564 ให้ทุกท่านครับ

จากหนังสือแม่โจ้ อนุสรณ์ ปี 2499 (วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่)
ศาลเจ้าแม่ แม่โจ้ ในอดีต ปี 2533 (สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้)
ศาลเจ้าแม่ แม่โจ้ ณ ปัจจุบัน ปี 2551 (มหาวิทยาลัยแม่โจ้)

หลายปี ที่แล้ว ที่นี่แม่โจ้…

ภาพมุมสูงที่ถ่ายบริเวณหน้า วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ 2499 สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ ประมาณปี 2534 และในปัจจุบัน 2564 ในภาพ จากอดีต และมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับภาพถ่าย ปัจจุบัน แล้ว ยอมรับว่ามีการพัฒนาที่มากขึ้นจริง ๆ โดยใช้เวลา ไม่น้อยกว่า 85 ปี ครับ..(ปัจจุบัน ปี 2564)

จากหนังสืออนุสรณ์ แม่โจ้ 2499 (วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่)

ปี 2534 ที่แม่โจ้

เมื่อกว่า 30 ปีที่แล้วมีโอกาสได้เป็นส่วนหนึงของทีมองค์การนักศึกษา สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ เชียงใหม่ ในตำแหน่ง ประธานฝ่ายหารายได้ของ องค์การนักศึกษา ในอดีตกิจกรรมต่าง ๆ ในสถาบันฯ นักศึกษาเป็นผู้ดูแลและจัดการกันเองทั้งหมดครับ เช่นการหารายได้ การขายเสื้อนายร้อย เสื้อคุณนาย การเช่าชุดครุย การทำแหวนรุ่น ตลอดจนการขายของที่ระลึกต่างๆ ครับ แต่ปัจจุบันกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษาส่วนนี้ ทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นผู้กำกับดูแล และจัดหาเองเกลือบทั้งหมด ซึ่งก็ไม่ทราบว่า ยังพอมีกิจกรรมอะไรเหลือให้ นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ หรือไม่ ดังนั้นฝ่ายหารายได้ ของ อนม. เมื่อปี 2534 จึงเปรียบเสมือนกระทรวงการคลังของ อนม. ต้องหาเงิน มาเพื่อจัดกิจกรรมต่าง ๆ หรือเพื่อขวัญและกำลังใจของทีมงาน หลังจากเสร็จภาระกิจของสถาบันฯแล้ว เช่นกินข้าวกัน เที่ยว หรือออกค่ายต่าง ๆ โดยไม่เบิกค่าใช้จ่ายจากสถาบัน แต่ฝ่ายหารายได้เป็นผู้สนับสนุนครับ…สนุก … มากครับ

อีกภาพที่เป็นที่ประทับใจ ในช่วงที่มีกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในระหว่างวันที่ 1-7 มิถุนายน 2533 ให้ภาพบรรยายนะครับ ผมเป็นคนๆหนึ่งในภาพครับ..